ประวัติความเป็นมาของสมาคมสื่อสารมวลชนมุสลิม

ประวัติความเป็นมาของสมาคมสื่อสารมวลชนมุสลิม จาก  อดีต ถึงปัจจุบัน

155863_118587858308638_2038617703_n

เมื่อประมาณปี 2514 พี่น้องมุสลิมที่ทำกิจกรรมด้านสื่อสารมวลชนมุสลิม  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ทำงานด้านวิทยุกระจายเสียง  จำนวน  17  รายการ อกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียง  13  สถานี  ได้รวมตัวกันด้วยเจตนาจะร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์ต่อศาสนาอิสลามและสังคมส่วน รวม  และได้ประกาศเจตนารมณ์นี้ ให้เป็นที่รับทราบอย่างกว้างขวางในวงการมุสลิม  ทำให้พี่น้องมุสลิมที่ทำงาน  ในระดับแกนนำของสถาบันองค์กรมุสลิมทั้งในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เข้าร่วมสืบสานเจตนารมณ์กับ กลุ่มพี่น้องมุสลิมที่ทำงานด้านสื่อสารมวลชนมุสลิม  เพื่อร่วมพัฒนาการดำเนินการทางศาสนาและสังคมมุสลิม ให้เจริญก้าวหน้าตามปณิธานที่ตั้งไว้  และขยายเพิ่มจำนวนสมาชิกร่วมอุดมการณ์ออกไปมากขึ้นอย่างกว้างขวาง  โดยทุกคนมิได้มุ่งหวังสิ่งตอบแทนที่เป็นรูปธรรมใดๆ ทั้งสิ้น

เมื่อปี พ.ศ. 2520  แกนนำของคณะทำงานด้านสื่อสารมวลชนมุสลิม และพี่น้องมุสลิมทั่วไปที่เข้าร่วมกิจกรรม  ร่วมอุดมการณ์  เพื่อสังคมส่วนรวม  ได้ประกาศจัดตั้งกลุ่มคณะทำงานต่อสาธารณชน อย่างเป็นทางการ  ในชื่อองค์กรว่า “ ชมรมวิทยุภาคมุสลิม ”  โดยมี อัลมัรฮูมฮัจยีชาลี  คุรุสวัสดิ์  ผู้จัดทำรายการวิทยุภาคมุสลิม ที่มีประสบการณ์ มีความอาวุโสสูง ด้วยวัยวุฒิและคุณวุฒิ ได้รับเลือกให้เป็นประธาน ชมรมวิทยุภาคมุสลิม อยู่หลายสมัย  ตั้งสำนักงานอยู่ที่ สำนักอภิธรรมอันยูมันอิสลาม  บางรัก  และได้ผลัดเปลี่ยนตำแหน่งประธานชมรม และคณะผู้บริหารชมรมวิทยุภาคมุสลิม ในช่วงเวลาต่อมาอีกหลายชุด  ทั้งอัลมัรฮูมฮัจยีสุวิทย์  อนันต์นับ , ฮัจยีอรุณ  บุญมาเลิศ และอัลมัรฮูมอาจารย์สมาน  ใจปราณี  ได้เข้ารับตำแหน่งประธานชมรมวิทยุภาคมุสลิม เป็นลำดับต่อๆมา  การรวมตัวที่เป็นรูปธรรมและก่อประโยชน์ให้อิสลามและสังคมส่วนรวม ประการหนึ่ง คือ การจัดทำวิทยุรอมฎอน ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ฟังทั่วไปอย่างมากมาย  เนื่องจากเป็นองค์กรที่รวมนักวิชาการมุสลิมผู้ทรงคุณวุฒิร่วมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอิสลามในรายการวิทยุอย่างมีสาระยิ่ง

ต่อมาปี  พ.ศ. 2525  สมาชิกของชมรมฯ มีความเห็นตรงกันว่า ควรจะปรับเปลี่ยนชมรมให้เป็นองค์กรนิติบุคคลตามกฎหมาย  จึงได้มอบหมายให้นายสุธี  ผลทวี  เป็นผู้ยกร่างระเบียบข้อบังคับขององค์กรที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ โดยใช้ชื่อว่า “ สมาคมสื่อสารมวลชนมุสลิม “  เมื่อยกร่างข้อบังคับเป็นที่สมบูรณ์แล้ว จึงได้มอบหมายให้ นายสุวิทย์  อนันต์นับ , นายสุธี  ผลทวี และนายฮาซัน  สถิปัฎฐาน  เป็นผู้เริ่มก่อการยื่นขอจดทะเบียนก่อตั้งสมาคมสื่อสารมวลชนมุสลิม และได้รับอนุมัติการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ทะเบียนเลขที่  003/2527  เมื่อวันที่  28  กุมภาพันธ์ พ.ศ.  2527  โดยมีสำนักงานสมาคมฯ ตั้งอยู่ที่สำนักอภิธรรมอันยูมันอิสลาม ซอยโรงภาษี เขตบางรัก  โดยมีนายสุวิทย์  อนันต์นับ เป็นนายกสมาคมฯ คนแรก  ต่อมาได้ย้ายสำนักงานสมาคมฯ มาอยู่ที่อาคารเลขที่  1681  ปากซอยรามคำแหง 5 (ริฟาอี)  ถนนรามคำแหง แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง  กรุงเทพมหานคร  และได้จดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมฯ  เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์  โดยมีวัตถุประสงค์หลัก  คือ

(1.)     ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำรายการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์   สื่อสิ่งพิมพ์ หรือสือ อื่น ๆ  ในอันที่จะก่อประโยชน์ต่อสาราณะ

(2.)     ธำรงไว้ซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้จัดรายการวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่น ๆ ที่นับถือศาสนาอิสลาม

(3.)      สร้างความสมานสามัคคี เกื้อกูลกัน ระหว่างผู้จัดรายการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่น ๆ รวมถึงการช่วยเหลือด้านสาธารณะกุศลโดยทั่วไป

สมาคมสื่อสารมวลชนมุสลิม  เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2527 – 2555  รวมเวลาได้  27  ปี  มีผู้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ  ดังนี้.-

–    ปี  พ.ศ.  2527   ถึง    2536       มี  นายสุวิทย์     อนันต์นับ       เป็น    นายกสมาคมฯ
–    ปี  พ.ศ.  2537   ถึง    2538       มี   นายฮาซัน     สถิปัฎฐาน     เป็น    นายกสมาคมฯ
–    ปี  พ.ศ.  2539   ถึง    2542       มี   นายพงษ์ศักดิ์   สาโรวาท    เป็น     นายกสมาคมฯ
–    ปี   พ.ศ.  2543  ถึง    ปัจจุบัน   มี   นายอาหะหมัด   ขามเทศทอง  เป็น   นายกสมาคมฯ

กิจกรรมที่สำคัญของสมาคมสื่อสารมวลชนมุสลิม  นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับของสาธารณชนอย่างกว้างขวาง  ประกอบด้วย

( 1. )     การจัดทำรายการวิทยุกระจายเสียงชื่อรายการ “ มุสลิมสัมพันธ์ “ ภาคปกติ จัดทำตั้งแต่วัน จันทร์  ถึง  วันเสาร์  (ปัจจุบันจัดทำทุกวัน)    ตั้งแต่เวลา  17.00 น. – 18.00 น.   และจัดทำรายการภาคพิเศษ ในเดือนรอมฎอน   ติดต่อกันมาทุกปี      ปัจจุบันกระจายเสียงทางสถานีวิทยุ

ทหานอากาศ  01  มีนบุรี  ภาค เอ.เอ็ม. คลื่นความถี่  945  กิโลเฮิร์ท
( 2. )      การจัดทำรายการ  “โทรทัศน์รอมฎอน “ หลายปีติดต่อกันในช่วงที่  นายสุวิทย์  อนันต์นับ เป็นนายกสมาคมฯ

( 3. )      จัดวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่พี่น้องมุสลิม    ตามสถาบันต่างๆ ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค
( 4. )      จัดโครงการให้ความสงเคราะห์ช่วยเหลือพี่น้องมุสลิม และบุคคลทั่วไป ที่ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ
( 5. )      จัดโครงการฝึกอบรมพัฒนาพลังการพูด และบุคลิกภาพ  แก่ผู้แทนองค์กร สถาบันต่าง ๆ
( 6. )       ร่วมกิจกรรมกับองค์กรสถาบันมุสลิม  และองค์การพัฒนาสังคม ต่าง ๆ

สถานะภาพของสมาคมฯ   ในปัจจุบัน มีสมาชิก  จำนวน..236  .คน

สำนักงานปัจจุบัน ตั้งอยู่เลขที่ 340/3 ถนนพระรามที่ 9 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพ ฯ เป็นอาคารที่ได้รับความอนุเคราะห์จาก บริษัทขามเทศทอง จำกัด  ให้สมาคมฯ ใช้เป็นสำนักงาน , ห้องส่งกระจายเสียงวิทยุ , ห้องประชุม   โดยไม่คิดค่าเช่า

ใส่ความเห็น